Page 28 - best ปฐมวัยโรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน
P. 28
25
่
ขั้นตอนที่ 1 แยกน้ำมะพร้าวออกจากเนื้อ แล้วขุดเนื้อมะพร้าว จากนั้นเทลงหม้อ และคอย ๆ โปรย ผงวุ้น ตามท ี่
ต้องการ รอประมาณ 2 นาที เพื่อให้ผงวุ้นจมลงไปในน้ำ จากนั้นนำไปตั้งไฟปานกลาง ระหว่างต้มให้คนไปด้วย
ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ผงวุ้นไหม้ติดก้นหม้อ ต้มต่อไปจนเดือด หลังจากเดือดต้มต่อประมาณ 2-3 นาท ี
ขั้นตอนที่ 2 เติมน้ำตาลทรายขาวลงไป และเกลืออีกเล็กน้อย คนต่อไปจนน้ำตาลทรายละลายหมด แล้วจึงใส่เนื้อ
มะพร้าวอ่อนลงไป และต้มต่อจนน้ำเดือดอีกรอบ เพื่อให้เนื้อมะพร้าวนุ่มลงอีก
ขั้นตอนที่ 3 เติมหัวกะทิลงในหม้อเป็นอย่างสุดท้าย และปิดไฟ จากนั้นคนให้เข้ากัน
ขั้นตอนที่ 4 ตักใส่พิมพ์ตามที่ต้องการ รอให้วุ้นเซตตัว แล้วจึงแกะออกมาจากพิมพ์ ก่อนรับประทานนำไปแช่เย็น
ก่อนอีกทีเพื่อเพิ่มความอร่อยในการรับประทานได้
สรุปคำถามที่เด็กๆ สงสัยอยากรู้เกี่ยวกับเรื่อง ต้นมะพร้าว ได้แก่
1.มะพร้าวทำอย่างไรถึงจะมีน้ำกะทิออกมา
2.ถ้านำกะทิมาทำขนมจะมีลักษณะเปลี่ยนไปหรือไม่
สรุปว่า จากการที่เด็กๆได้เรียนรู้เรื่อง มะพร้าวทำอย่างไรถึงจะมีน้ำกะทิออกมาจากการคั้นโดยมีน้ำเปล่าใส่ใน
เนื้อมะพร้าวที่ขุดแล้วจะเปลี่ยนเป็นน้ำกะทิที่ได้มามีลักษณะ สี กลิ่น รสของมะพร้าว และน้ำกะทิ
เปลี่ยนจากของเหลวเป็นของแข็งเป็นขนมวุ้นโดยผ่านขั้นตอนการทำขนมวุ้นมะพร้าวใส่กระทิ
ขั้นตอนที่ 4 สังเกตและบรรยายส่วน ( วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566)
เด็กๆทำการทดลองการทำขนมจากกะทิเสร็จแล้วจากนั้นให้เด็กๆทุกคนลองสังเกตกระทิตอนที่ยังไม ่
โดนความร้อนกับตอนที่โดนความร้อน มีสี กลิ่นและรสชาติหรือลักษณะต่างกันอย่างไร
เด็กตอบว่า วุ้นมะพร้าวใส่กะทิ สีกะทิเข้มขึ้น มีกลิ่นหอมมะพร้าว เวลาชิมมีรสชาติหวาน เด็กชอบ
ว่าหนูอยากทำอีกค่ะ เดี๋ยวไปทำวุ้นมะพร้าวใส่กะทิที่บ้านค่ะ
ขั้นที่ 5 บันทึกผลการทดลอง
เด็ก ๆ จะสังเกต การเปลี่ยนแปลงของกะทิที่นำมาทำขนม และวาดภาพสิ่งที่สังเกต
การทำกิจกรรมและนำไปเสนอให้เพื่อนๆในชั้นเรียนดู
ครั้งที่1 สังเกตกะทิก่อนนำไปต้ม
ครั้งที่2 สังเกตกะทิขณะต้ม
ครั้งที่3 สังเกตกะทิเมื่อนำมาทำขนมเรียบร้อยแล้ว
ครั้งที่ 1 สังเกตกะทิก่อนนำไปต้ม กะทิจะมีลักษณะเป็นน้ำ มีความข้นเล็กน้อยในส่วนของหัวกะทิ
ส่วนหางกะทิจะมีความเหลวมากกว่าหัวกะทิ
ครั้งที่ 2 สังเกตกะทิขณะต้ม กะทิจะมีความเหลวเนื่องจากถูกความร้อน และจะมีลักษณะเหมือนมี
ไขมันลอยอยู่ด้านบน