Page 23 - BEST PRACTICE การจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบสื่อนิทานกระถาง
P. 23
18
5.6 เด็กปฐมวัยให้ความร่วมมือในการเรียนรู้ ตั้งใจในการประดิษฐ์ผลงานออกมาอย่างสร้างสรรค์
และเล่านิทานตามจินตนาการของตนเองได้อย่างน่าสนใจและสนุกสนาน
6.บทเรียนที่ได้รับ
6.1 เด็กนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะ EF หรือ Executive Functions เป็นทักษะการบริหาร
จัดการตนเองขั้นสูง เป็นกระบวนการทางความคิดระดับสูงของสมองส่วนหน้าที่มีความเกี่ยวข้องกับความคิด
ความรู้สึก และการกระทำ เป็นทักษะที่ทุกคนต้องใช้และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต ซึ่งมนุษย์ไม่ได้เกิดมา
พร้อมทักษะ EF แต่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการ
พัฒนาทักษะ EF คืออายุ 4 – 6 ขวบ เพราะสมองส่วนหน้าพัฒนาได้มากที่สุด ทำให้เด็กมีสมาธิ มีสมาธิจดจ่อ
สามารถทำกิจกรรมนั้นๆให้สำเร็จได้
6.2 การพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งอยู่ในช่วงการเรียนรู้ สื่อและของเล่นจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัย
หนึ่งสภาพแวดล้อมหนึ่งที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สื่อแต่ละประเภทมีส่วนในการพัฒนาเด็กแตกต่าง
กันไปการเลือกใช้และผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งครูจะมีบทบาทในการพิจารณาให้
เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก และตรงตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการนำสื่อมาใช้ประกอบกิจกรรม
การเรียนการสอน สื่อที่ดีย่อมส่งผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กการสร้างสื่อให้มีความเหมาะสมกับ
พัฒนาการตามวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กโดยฉพาะเด็กปฐมวัย เพราะการเรียนรู้ของเด็กในช่วง
วัยนี้จำเป็นต้องได้รับการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน
ดังนั้น การสร้างสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย จึงควรคำนึงหลักการสร้างและการใช้ที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถส่งเสริม
พัฒนาการเด็กด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสำคัญของสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการช่วยสร้าง
รากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เป็นรากฐานในการพัฒนาการ
ื่
เรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางความคิดต่อเนอง เชื่อมโยงสู่สิ่งต่าง ๆ ได้
ดี ตลอดจนช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและการเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ได้ดี สำหรับ
หลักการใช้สื่อเพื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย ครูต้องมีความพร้อมในการใช้สื่อนั้นๆให้คุ้มค่า
อย่างเต็มประสิทธิภาพของสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวผู้สอน การสร้างความเข้าใจสื่อ การเตรียมพร้อม
ผู้เรียน จัดเตรียมสภาพแวดล้อม วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม การใช้สื่อให้เหมาะสมกับ
ขั้นตอนที่เตรียมไว้ และการติดตามประเมินผล เพื่อช่วยให้การใช้สื่อเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ฉะนั้น ในการสร้าง
สื่อการสอนให้มีความเหมาะสมและเด็กเกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ครูผู้สอนอาจจะต้องเริ่มจาก การสำรวจ
ความต้องการของเด็ก กำหนดเป้าหมายการผลิต วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย กำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
วิเคราะห์และจัดทำเนื้อหา เลือกประเภทสื่อที่จะผลิต ผลิตสื่อ ทดลองภาคสนาม วิเคราะห์ ประเมินผล การ
นำไปใช้และปรับปรุง ซึ่งนำไปสู่การวางแผนในการใช้สื่อการสอน โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ผู้เรียนผ่านทักษะที่
มีมาก่อน ทักษะเป้าหมาย หรือทักษะในการเรียนและเจตคติ การกำหนดจุดประสงค์ การเลือก ดัดแปลงหรือ
ออกแบบสื่อ การใช้สื่อ การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้
การสร้างสื่อเกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
6.3 เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางด้านภาษา กล้าพูดกับเพื่อน กับครู และกับผู้อื่น โดยในการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ครูกล่าวคำชมเชย ไม่ดุว่า หรือเร่งพัฒนาการของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของ สกินเนอร์
(Burrhus Skinner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน การเสริมแรงทางบวก เป็นการให้สิ่งที่พึงประสงค์แก่เป้าหมาย
BEST PRACTICE การจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบสื่อนิทานกระถาง