Page 4 - best ปฐมวัยโรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน
P. 4

๑


                             แบบการนำเสนอสถานศึกษาที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
                                   ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย (ครูผู้สอน)

                                                      ประจำปี ๒๕๖๖

               1. ชื่อผลงาน : การพัฒนาทกษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมโครงงาน เรื่อง การเดินทางของ
                                       ั
                                   กะท  ิ


               2. ชื่อผู้นำเสนอผลงาน        นางสาวจิราภรณ์  นาคสุข
                                            ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน (พัฒนาการภาคตะวันออก)
                                            สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๒

                                            โทรศัพท์ 098-7193561
                                            อีเมล 09jiriporn@gmail.com

               3. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ

                       การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๖ ปีบริบูรณ์อย่างเป็นองค์รวม การอบรมเลี้ยงดู
               และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และตอบสนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้เต็ม
               ตามศักยภาพ ภายใต้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้กล่าวถึงการจัดการศึกษาของเด็กอายุ ๓ – ๖

               ปี เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะการบูรณาการผ่านการเล่น การลงมือทำจากประสบการณ์ตรงอย่าง
               หลากหลาย เพื่อให้เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรม และจริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์
               จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยไม่จัดเป็นรายวิชา
                       ในปัจจุบัน ทักษะทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เพราะเด็กใช้
               กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสำรวจ ค้นหา ทดลอง และสังเกตสิ่งรอบตัว การส่งเสริมความสามารถทาง

               วิทยาศาสตร์จึงควรเริ่มตั้งแต่ช่วงปฐมวัย เพราะเป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านการคิดวิเคราะห์และตั้งคำถาม
               เกี่ยวกับสิ่งรอบตัวอย่างรวดเร็ว การพัฒนาด้านการสังเกต การทดลอง และการตั้งสมมติฐานไปพร้อมกันจะ
               ช่วยให้เด็กมีพื้นฐานในการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น

               ข้าพเจ้ามีประสบการณ์ด้านการสอนมาเป็นระยะเวลา 3 ปี 4 เดือน ข้าพเจ้าเจอปัญหาเกี่ยวกับผู้ปกครอง ครู
               และนักเรียน ดังต่อไปนี้
                       ปัญหาด้านผู้ปกครอง
                       1.  ขาดความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองบางส่วนยังมุ่งเน้นให้

                          เด็กอ่านออกเขียนได้เร็ว โดยละเลยการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทดลองทางวิทยาศาสตร์
                       2.  การใช้สื่อเทคโนโลยีในการเลี้ยงดูเด็ก เช่น โทรศัพท์มือถือและโทรทัศน์ ทำให้เด็กขาดโอกาสใน
                          การสำรวจสิ่งแวดล้อมจริง ส่งผลให้ขาดทักษะการสังเกตและตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์
                       ปัญหาด้านครู

                       1.  การให้ความสำคัญกับเนื้อหาวิชาการมากกว่าการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เชิงทดลอง ครู
                          บางส่วนยังเน้นการท่องจำแทนการกระตุ้นให้เด็กคิดและทดลองด้วยตนเอง
                       2.  ขาดการบูรณาการแนวทางการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry-based Learning) ซึ่งเป็น
                          หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัย

                       ปัญหาด้านเด็ก
   1   2   3   4   5   6   7   8   9