Page 7 - BEST PRACTICE การจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบสื่อนิทานกระถาง
P. 7

2


                  องค์ประกอบของ EF (Executive Functions)
                    นักวิชาการในประเทศไทยจากองค์กรต่าง ๆ ได้แบ่งทักษะ EF ออกเป็น 9 ด้าน และสามารถ

                         ็
               แบ่งออกเปนกลุ่มใหญ่ 3 ทักษะ ดังนี้
                     กลุ่มทักษะพื้นฐาน
                         1. ความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) การจำข้อมูล และจัดการกับข้อมูล คิดเชื่อมโยง
               กับประสบการณ์เดิม และประมวลผลเพื่อนำไปใช้งานต่อ

                         2. การยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) หยุดคิด และไตร่ตรองก่อนทำหรือพูด พิจารณาข้อมูล
               ต่าง ๆ และรู้จักรอ
                         3. การยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive Flexibility) ปรับความคิดเมื่อเงื่อนไข หรือสถานการณ์
               เปลี่ยนไป รู้จักคิดนอกกรอบ และเห็นวิธีการรวมทั้งโอกาสใหม่ ๆ

                      กลุ่มทักษะกำกับตนเอง
                         4. การจดจ่อใส่ใจ (Focus/Attention) มีสมาธิต่อเนื่อง จดจ่อในสิ่งที่ทำ
                         5. การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) จัดการกับอารมณ์ และแสดงออกได้อย่าง
               เหมาะสม มีความมั่นคงทางอารมณ์

                         6. การติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring) รู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ ทบทวนการกระทำ
               และสะท้อนผลการกระทำของตัวเองได้ แก้ไขเมื่อพบข้อบกพร่อง
                      กลุ่มทักษะการปฏิบัติ

                         7. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) มีความคิดริเริ่ม คิดนอกกรอบได้ ตัดสินใจลงมือทำ
               ด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้ใครเตือน
                         8. การวางแผนและจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organising) ตั้งเป้าหมาย วางแผน
               เป็นขั้นตอน จัดลำดับความสำคัญ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ
                         9. การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) มีแรงจูงใจ และความพยายามเพื่อทำตาม

               เป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สำเร็จ มีความมุ่งมั่น อดทนต่อความยากลำบากได้
                      การฝึกทักษะ EF ในเด็กปฐมวัยไม่เพียงแต่ช่วยในการพัฒนาทางด้านวิชาการเท่านั้น แต่ยังสร้างพื้นฐาน
               ที่มั่นคงสำหรับการพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ในอนาคตอีกด้วย

                       จากความสำคัญของการพัฒนาทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ครูจึงหาวิธีการ/แนวทางในการพัฒนา
               ทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย การเล่านิทานจึงเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและมีประโยชน์มากสำหรับการพัฒนา
               ทักษะทางสมองของเด็กๆ นอกจากจะเป็นการสร้างความสนุกสนานแล้ว ยังมีผลดีต่อการเรียนรู้และพัฒนา
                                                       ึ่
               ทักษะต่างๆ อีกด้วย “การเล่านิทาน”ถือเป็นหนงในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่สำคัญมากๆ ต่อเด็กปฐมวัย
               เพราะสามารถ ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างรอบด้านและมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยกระตุ้น
               การเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ปี พ.ศ. 2550 ได้ระบุถึงความสำคัญของนิทาน
               ไว้ว่า….


               “นิทานเป็นสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตทั้งเด็ก และผู้ใหญ่เพราะนอกจากนิทาน จะช่วยให้เด็ก ๆ มีความสุขสนุกหรรษา
               แล้วยังเป็นโลกแห่งจินตนาการที่สมบูรณ์แบบที่คอยช่วยถักทอสายใยความรัก ความฝัน สานสัมพันธ์อันอบอุ่น

               ความละมุนละไมในกลุ่มสมาชิกของครอบครัวอีกทั้งนิทานยังให้แง่คิดคติสอนใจและปรัชญาชีวิตอันล้ำลึกแก่
               เด็ก”







               BEST PRACTICE การจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบสื่อนิทานกระถาง
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12