Page 17 - BEST PRACTICE การจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบสื่อนิทานกระถาง
P. 17
12
3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม (ตามวงจรคุณภาพ PDCA)
3.2.1 Plan = P
1. วิเคราะสภาพปัญหา เนื่องจากปัจจุบันเด็กระดับชั้นปฐมวัย มีการได้รับการพัฒนาทักษะทาง
ั
สมองค่อนข้างน้อย และกิจกรรมที่ใช้ค่อนข้างยากและซบซ้อนจนทำให้เด็กไม่สนใจและไม่อยากทำกิจกรรมนั้น
ๆ จึงทำให้เด็กมีความจดจำเป็นระยะเวลาสั้น ไม่มีสมาธิจดจ่อ ไม่มีความยับยั้งชั่งใจต่อตนเอง ไม่รู้จักการรอ
คอย ไม่รู้จักแก้ปัญหา ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นอยู่เสมอ จึงเห็นได้ว่าทักษะทางสมองมีความจำเป็น
อย่างยิ่งที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทักษะสมอง EF ยังมีส่วนสำคัญในการปกป้องเด็กๆ
ของเราต่อภยันตรายที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาตัวเขา ไม่ว่าจะเป็นภัยจากไซเบอร์ ภัยจากสังคมรอบข้าง และ
ภัยยาเสพติด เพราะองค์ประกอบพื้นฐานของ EF ที่สำคัญคือ ความยับยั้งชั่งใจ หากได้รับการส่งเสริมให้มีการ
พัฒนาเป็นอย่างดีในช่วงปฐมวัยแล้ว จะทำให้เด็กคนนั้นเติบโตไปโดยมีภูมิคุ้มกันของจิตใจต่อการลองสิ่งที่ไม่ดี
โดยเฉพาะยาเสพติด ซึ่งผู้ติดยาเสพติดโดยส่วนใหญ่ทราบดีว่า ยาเสพติดเป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเอง แต่
ที่ยังคงเลิกใช้ไม่ได้นั้น เกิดจากการที่ไม่อาจจะหักห้ามใจในการใช้ยาเสพติดได้ รวมถึงไม่ทราบว่าจะปฏิเสธ
เพื่อนที่มาชักชวนได้อย่างไร ดังนั้น หากทักษะสมอง EF ได้มีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาในช่วงวัยเด็กอย่าง
จริงจังแล้ว จะทำให้เด็กคนนั้นสามารถยับยั้งตนเองจากการลองใช้ยาเสพติด และมีทักษะในการเอาตัวรอดจาก
การชักชวนของกลุ่มเพื่อนหรือสังคมรอบข้างที่มีการใช้ยาเสพติดได้อีกด้วย
2. การวางแผนการทำงาน ดำเนินการโดยศึกษาหลักสูตรปฐมวัย สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์
สำคัญ มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และตัวบ่งชี้ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย
กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน และวางแผนการผลิตสื่อ โดยกำหนดจุดมุ่งหมาย และรูปแบบของสื่อให้
เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก
3.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับทำกิจกรรม โดยประสานความร่วมมือจากผู้ปกครองนำกระถางที่เหลือ
ใช้ในบ้านมาจัดทำและอื่นๆ ประกอบด้วย กระถางพลาสติก กล่องกระดาษ ไม้ไอติม ดินน้ำมัน เป็นต้น
3.2.2 Do = D
4. ลงมือปฏิบัติงานตามแผน โดยจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบสื่อนิทานกระถาง โดยให้เด็กมีส่วน
ร่วมในการเล่านิทานและตอบคำถามต่างๆ
BEST PRACTICE การจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบสื่อนิทานกระถาง