คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 2
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องจักรวาลและอวกาศ
นี้จัดทำขึ้นเพื่อ เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
โดยเนื้อหาในคู่มือนี้ แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
1.
การติดตั้งโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องจักรวาลและอวกาศ
2. แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3. ขั้นตอนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 2
ชั้นประถมศึกษาปีที่
6 เรื่องจักรวาลและอวกาศ จะมีประโยชน์สำหรับครู และ
นักเรียนที่จะนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์
ช่วงชั้นที่
2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องจักรวาลและอวกาศ
ไปใช้ในการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป1.
นักเรียนสามารถเลือกเรียน ได้ตามความต้องการและความสนใจของตนเองอย่างแท้จริง
โดยนักเรียนสามารถเลือกเรียนจากเรื่องใดก่อนก็ได้
และเมื่อเลิกเรียน แล้ว วันต่อไปสามารถเรียนต่อจากจุดเดิมได้โดยไม่ต้องเริ่มเรียนใหม่
2.
ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเอง โดยนักเรียนสามารถเรียนเองได้
จากบทเรียนที่กำหนดให้ และสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ จากหัวข้อต่าง ๆ
ที่กำหนดให้ จากสื่อต่าง ๆ รวมทั้งอินเทอร์เน็ต
3.
มีระบบการสอบที่สมบูรณ์ สามารถสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียนได้ ซึ่งโปรแกรม จัดระบบการสอบ
เพื่อป้องกันการทดสอบซ้ำในแต่ละเนื้อวิชาได้ อย่างสมบูรณ์
ถึงแม้จะเข้าเรียนซ้ำในบทเรียนเดิมก็ ไม่สามารถสอบซ้ำได้
4.
บทเรียน ใช้วิธีการสร้างสถานการณ์ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ
ความกระตือรือร้น และอยากมีส่วนร่วมในการเรียน
และเมื่อเรียนจบมี รางวัลให้ เพื่อเป็นกำลังใจในการเรียนด้วย
5. ในกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้สื่อการสอน หลากหลาย มีทั้ง
เพลง เกม วีดีทัศน์สาธิต และการสร้างสถานการณ์จำลองการเกิดเหตุการณ์ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่ง
นักเรียนสามารถศึกษาได้ ที่ละขั้นตอน หรือดูซ้ำ ได้ จนกว่าจะเกิดความเข้าใจ
ข้อเปรียบเทียบ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่องจักรวาลและอวกาศกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั่วไป
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจักรวาลและอวกาศ
|
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั่วไป
|
1.
นักเรียนสามารถเรียนเรื่องใดก่อนก็ ได้
|
1.
ส่วนมากเรียนตามลำดับ
|
2.
นักเรียนสามารถเรียนได้หลายคนในเครื่องเดียวกันโดยผลการเรียนรู้
ของแต่ละคนไม่ปะปนกันเพราะเก็บข้อมูลเป็น ระบบรหัสของผู้เรียนแต่ละคน
|
2.
ทำไม่ได้ ต้องเรียนทีละคนจนจบเรียน ถ้านักเรียนคนอื่นมาเรียน
ข้อมูลนักเรียนคนก่อนจะโดนลบ
|
3. มีระบบการสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน แบบสมบูรณ์ ป้องกันการสอบซ้ำ ถึงแม้
เข้ามาเรียน ในเนื้อหาเดิมก็ตาม
|
3.
ไม่มีระบบการป้องกันการสอบซ้ำ
นักเรียนสามารถสอบ ซ้ำกี่รอบในบทเรียนก็ ได้ ที่เข้ามาเรียนในบทเรียน
|
4.
มีระบบบันทึกผลการเรียนในแต่ละเนื้อหาวิชา
ดังนั้นเมื่อหมดชั่วโมงเรียน วันต่อไป
นักเรียนสามารถเรียนต่อจากเนื้อหาเดิมได้ ตลอดเวลา
|
4.
ไม่มีระบบบันทึกผลการเรียนในแต่ละเนื้อหา ดังนั้น ถ้าเรียนไม่จบ ในชั่วโมง
วันต่อไป ต้องเริ่มต้นเรียนใหม่ในเนื้อหานั้น ๆ ทำให้เสียเวลาเรียน
|
5.
สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต ได้ จากบทเรียน โดยไม่ต้องออกโปรแกรม
|
5.
ไม่มี
|
6.
ใช้สื่อการสอนหลากหลาย มี ภาพ เสียง วีดีทัศน์สาธิต
โปรแกรมจำลองการเกิดปรากฎการณ์ต่าง ๆ
และเกมทดสอบผลการเรียนรู้
|
6.
สื่อการสอนไม่หลากหลาย ส่วนมากเป็นการอ่าน และตอบคำถาม
|
7.
มีระบบบันทึกคะแนน ที่แยกคะแนนออกเป็น ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
ของแต่ละบทเรียน ออกจากกัน เพื่อให้ ครูสามารถบันทึกคะแนนได้
สะดวกหลังจากเลิกเรียนในแต่ละชั่วโมงได้
|
7.
ไม่มี
|
8.
มีเครื่องมือของครูในการช่วยเหลือนักเรียนระหว่างเรียน เช่น นักเรียนลืมรหัสผ่าน
ครูสามารถเปิดเพื่อตรวจสอบและบอกรหัสผ่านของนักเรียนแต่ละคนได้
และเมื่อสิ้นปีการศึกษาหรือหลังจากเลิกเรียนแล้ว
ครูสามารถลบผลการเรียนทั้งหมดของนักเรียนที่ไม่ต้องการในปีต่อไปได้
|
8.
ไม่มี
|
|