|
เลขทะเบียน |
1-24120-001-51 |
ชื่อพรรณไม้ |
ชำมะเลียง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Lepisanthes frutieosa Leenh |
ชื่อวงศ์ |
SAPINDACEAE |
ชื่อทั่วไป |
- |
ลักษณะต้น |
-
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 4-7 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง
|
ลักษณะใบ |
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก (even-pinnate) เรียงตัวแบบสลับ ใบย่อยออกเยื้องกันเล็กน้อย (subopposite) มี 5-7 คู่ แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน (elliptic-oblong) ปลายใบแหลม ฐานใบมน (obtuse) หรือสอบเข้า (cuneate) ขอบที่เรียบขนาดกว้าง 2-3 ซม. ยาว 7-21 ซม. ก้านใบยาว 2-3 ซม. บริเวณก้านใบจะมีหูใบแผ่เป็นแผ่นกลมๆ เด่นชัด ใบหนาเป็นมัน |
ลักษณะดอก |
ดอก เป็นช่อแบบ raceme ออกที่บริเวณกิ่งและลำต้น (cauliflorous) ดอกย่อยของแต่ละช่อมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศปนกัน (polygamo ? monoecious) ช่อดอกยาว 10-12 ซม. กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ รูปรี (elliptic) ขนาดกว้าง 3-4 มม. ยาว 5-6 มม. มีสีม่วงแยกกัน กลีบดอกลักษณะคล้ายกลีบเลี้ยงแต่บางกว่าอยู่สับหว่างกลีบเลี้ยง กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกกันที่ฐานจะเรียวเล็ก ดอกเพศผู้มีเกสรผู้ 8 อัน ติดอยู่ด้านหนึ่งของฐานรองดอกที่นูนขึ้น (disc) ขนาดยาว 3-4 มม. มีก้านชูอับเรณูสั้นๆ ดอกเพศเมียมีเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่ติดอยู่เหนือฐานรองดอก มีเกสรตัวผู้ที่ไม่เจริญ (staminode) 8 อัน ติดอยู่รอบๆ รังไข่ รังไข่มี 3 พู (lobe) 3 ห้อง (locule) แต่ละห้องมี ovule 1 อัน |
ลักษณะผล |
ผล เป็นผลสดแบบ baccate รูปกลมหรือรูปไข่ ผลสุกจะมีสีแดงดำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ซม. แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด เมล็ดมีรูปไข่ปนขอบขนาน ขนาดกว้าง 1.0-1.5 ซม. ยาว 2.0-2.5 ซม. มีใบเลี้ยงขนาดใหญ่ไม่มี endosperm |
อื่น ๆ |
ยอดอ่อน กินได้เป็นผักชนิดหนึ่งหรือจะยำกินก็ได้ ราก แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต ไข้กำเดา แก้ร้อนใน คนโบราณใช้ผลแก่มีสีดำ รสฝาดหวาน ให้เด็กทานแก้โรคท้องเสีย |
ลักษณะเด่น |
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ผล รูปกลมหรือรูปไข่ ผลสุกจะมีสีแดงดำ |
|
|
|
|
|
|